บทที่ 4

การทดลองการทำงานและการแสดงผล

4.1 การติดตั้งระบบ Notes

    1. เครื่องคอมพิวเตอร์รุ่น Pentium 166 , RAM 32 Mb 1 เครื่อง
    2. เครื่องคอมพิวเตอร์รุ่น Pentium MMX 166 , RAM 32 Mb 2 เครื่อง
    3. ซอฟท์แวร์ผลิตภัณฑ์ Lotus Notes 4.6 Thai
    4. ระบบเครือข่ายที่เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้ง 3 เครื่อง เข้าด้วยกัน
    1. ลงโปรแกรมติดตั้งเซิฟเวอร์ของ Notes ลงบนเครื่อง Window NT Sever
    2. เพิ่มรายชื่อผู้ใช้บนฐานข้อมูลของ Notes (Add user)
    3. ลงโปรแกรมติดตั้งเครื่องลูกข่ายของ Notes ลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์อีก 2 เครื่อง เพื่อทำเป็นเครื่องเวิร์กสเตชั่น (Workstation)
    4. ติดตั้งระบบเครือข่ายบน Notes กำหนดค่าต่างๆ ให้เครื่องลูกข่ายเชื่อมต่อกับเครื่องเซิฟเวอร์
    5. เพิ่มรายชื่อผู้ใช้เพิ่มเติม (Add user)

4.2 การทดลองการทำงาน

การทดลองการทำงานนี้ เป็นการทดลองการทำงานของฐานข้อมูลที่สร้างขึ้นเรียบร้อยแล้ว มีขั้นตอนต่างๆ ดังนี้

  1. กำหนดผู้ใช้งานและสิทธิต่างๆ
  2. เนื่องจากการทดลองการทำงานของฐานข้อมูลการประชุมภาควิชาฯ นี้ จะต้องทดลองโดยให้ผู้ใช้งานทดลองใช้งานที่เครื่องลูกข่าย แล้วเปิดฐานข้อมูลการประชุมของภาควิชาฯ ที่อยู่บนเครื่องเซิฟเวอร์ เพื่อต้องการให้ผู้ใช้งานทุกคนใช้งานบนฐานข้อมูลเดียวกัน จากนั้นจึงเริ่มทดลองการทำงาน

    ในการใช้งานกับฐานข้อมูลบน Notes ผู้ที่จะใช้ฐานข้อมูลได้ ต้องเป็นผู้ใช้งานของ Notes ก่อน และต้องเป็นผู้ใช้งานของฐานข้อมูลนั้นๆ ด้วย จากนั้นจะต้องกำหนดสิทธิของผู้ใช้ว่ามีสิทธิที่จะเข้าถึงฐานข้อมูลระดับใด ดังนั้นก่อนที่จะเริ่มการทดลองการทำงาน จะทำการเพิ่มผู้ใช้งานฐานข้อมูลเข้าไปประมาณ 10 คน และกำหนดสิทธิต่างๆ โดยให้มีผู้ใช้งาน 1 คนเป็นหัวหน้าภาควิชาฯ (User Test1) ที่จะได้รับสิทธิในการสร้างเอกสารของฐานข้อมูลนี้ได้ทุกเอกสาร ยกเว้นเอกสารสรุป ซึ่งจะให้สิทธิเฉพาะผู้ที่เป็นเลขานุการภาควิชาฯ เท่านั้น กำหนดให้ผู้ใช้งาน 1 คนเป็นเลขานุการภาควิชาฯ (User Test2)จะได้รับสิทธิได้รับสิทธิในการสร้างเอกสารทุกชนิด ส่วนผู้ใช้งานที่เหลืออีก 9 คน จะเป็นผู้เข้าร่วมประชุม ที่มีสิทธิในการสร้างเอกสารได้เฉพาะเอกสารเสนอความคิดเห็นเท่านั้น

    เมื่อผู้เข้าร่วมประชุมป้อนข้อมูลเอกสารต่างๆ เพิ่มเข้าในฐานข้อมูล ทันทีที่บันทึกข้อมูล ไม่ว่าข้อมูลนั้นจะเป็นวาระการประชุมใหม่ หรือเอกสารเสนอความคิดเห็นเพิ่มเติม ผู้เข้าร่วมประชุมคนอื่นๆ จะสามารถเห็นเอกสารใหม่เหล่านั้น โดยการกด F9 เพื่อรีเฟชหน้าจอ (Refresh)

  3. ขั้นตอนการทดลอง
    1. ให้ผู้ใช้งานคนที่ 1 (User Test1) และ 2 (User Test2) สร้างเอกสารวาระการประชุม โดยให้ใส่ข้อมูลแบ่งเป็น 3 การประชุม ในแต่ละการประชุมมีวาระประชุมต่างๆ จำนวนวาระการประชุมไม่จำเป็นต้องเท่ากัน ใส่หัวข้อการประชุมในแต่ละวาระ 2-3 หัวข้อ โดยสมมติเนื้อหาขึ้นมาเอง เพื่อทดลองการทำงานของฟอร์มวาระการประชุม (Main topic)
    2. รูปที่ 4.1 แสดงการใส่ข้อมูลในฟอร์มวาระการประชุม

    3. ดูการทำงานของวิวเอกสารทั้งหมด (All document) วิววาระการประชุม (By categories) และวิวหัวข้อการประชุม (By topic) เกี่ยวกับการแสดงเอกสารต่างๆ ที่สร้างขึ้น พร้อมทั้งดูความถูกต้องของการจัดเรียงลำดับของเอกสาร
    4. รูปที่ 4.2 แสดงวิวเอกสารทั้งหมด

      รูปที่ 4.3 แสดงวิววาระการประชุม

      รูปที่ 4.4 แสดงวิวหัวข้อการประชุม

    5. จากนั้นเปลี่ยนจาก User Test1,User Test2 เป็นผู้เข้าร่วมประชุมคนอื่นๆ (User Test3-10) เพื่อสร้างเอกสารเสนอความคิดเห็นตอบโต้หัวข้อการประชุมต่างๆ เพื่อทดลองการทำงานของฟอร์มเสนอความคิดเห็น (Response)
    6. รูปที่ 4.5 แสดงการใส่ข้อมูลในฟอร์มเสนอความคิดเห็น

    7. ดูการทำงานของวิวเอกสารทั้งหมด (All document) วิววาระการประชุม (By categories) และวิวหัวข้อการประชุม (By topic) อีกครั้ง เกี่ยวกับการแสดงเอกสารต่างๆ ที่เพิ่มเติมเข้าไป ตำแหน่งย่อหน้า และดูความถูกต้องของการจัดเรียงลำดับของเอกสาร
    8. รูปที่ 4.6 แสดงวิวเอกสารทั้งหมด

      รูปที่ 4.7 แสดงวิววาระการประชุม

      รูปที่ 4.8 แสดงวิวหัวข้อการประชุม

    9. ให้ผู้เข้าร่วมประชุม (User Test3-10) รวมทั้ง User Test1 และ User Test2 สร้างเอกสารเสนอความคิดเห็นตอบโต้ความคิดเห็นของผู้อื่น เพื่อทดลองการทำงานของฟอร์มเสนอความคิดเห็น (Response to response)
    10. รูปที่ 4.9 แสดงการใส่ข้อมูลในฟอร์มเสนอความคิดเห็น

    11. ดูการแสดงผลและความถูกต้องของวิวทั้ง 3 อีกครั้ง
    12. รูปที่ 4.10 แสดงวิวเอกสารทั้งหมด

      รูปที่ 4.11 แสดงวิววาระการประชุม

      รูปที่ 4.12 แสดงวิวหัวข้อการประชุม

    13. ทดลองการทำงานของฟอร์มสรุป (Summery)โดยให้ User Test2 ซึ่งเป็นเลขานุการภาควิชา สร้างเอกสารสรุป โดยดูจากมติส่วนรวม และความคิดเห็นที่ผู้เข้าร่วมประชุมแต่ละคนเสนอ
    14. รูปที่ 4.13 แสดงการใส่ข้อมูลในฟอร์มสรุป

    15. ดูการแสดงผลและความถูกต้องของวิวเอกสารสรุป ในการแสดงเอกสารสรุปที่สร้างขึ้น
    16. รูปที่ 4.14 แสดงวิวเอกสารสรุป

    17. ทดลองการทำงานของวิวผู้เข้าร่วมประชุม และความถูกต้องของการแสดงข้อมูล
    18. รูปที่ 4.15 แสดงวิวผู้เข้าร่วมประชุม

    19. ทดลองการทำงานของฟอร์มหัวข้อการประชุม โดยเข้าสู่ฟอร์มนี้ ใส่ข้อมูลที่ฟอร์มต้องการ ดูการทำงานและความถูกต้องของการแสดงหัวข้อการประชุมในการประชุมแต่ละครั้ง
    20. รูปที่ 4.16 แสดงฟอร์มหัวข้อการประชุม

    21. ทดลองการทำงานของฟอร์มข้อเสนอ โดยเข้าสู่ฟอร์มนี้ ใส่ข้อมูลที่ฟอร์มต้องการและดูการทำงานของฟอร์ม และความถูกต้องของการแสดงข้อเสนอในแต่ละหัวข้อการประชุม
    22.  

      รูปที่ 4.17 แสดงฟอร์มข้อเสนอของหัวข้อประชุม

       

       

    23. ทดลองการแก้ไขเอกสารต่างๆ ที่สร้างขึ้น และดูการเปลี่ยนแปลง

รูปที่ 4.18 แสดงการแก้ไขข้อมูลในเอกสาร

4.3 ผลการทดลองการทำงาน

    1. ฟอร์มที่สร้างขึ้นสามารถใช้งานได้ มีข้อผิดพลาดบ้าง แต่เป็นข้อผิดพลาดที่สามารถแก้ไข เช่น การกำหนดคุณสมบัติของฟิลด์ผิด การกำหนดชนิดของฟอร์มไม่ถูกต้อง ฯลฯ
    2. วิวที่สร้างขึ้น แสดงข้อมูลได้ถูกต้อง
    3. เอกสารที่ผู้เข้าร่วมประชุมคนหนึ่งสร้างขึ้น ผู้เข้าร่วมประชุมคนอื่นๆ จะสามารถเห็นได้ ก็ต่อเมื่อทำการรีเฟชหน้าจอโดยการกด F9 หรืออยู่ที่วิวอื่นหรือฟอร์มแล้ว แล้วเข้าสู่วิวที่มีเอกสารเพิ่มเติม จะแสดงให้เห็นเองไม่ต้องรีเฟชหน้าจอ จะเห็นผลการทดลองการทำงานนั้นไม่เป็นลักษณะ Real-Time ซึ่งเป็นคุณสมบัติของ Notes อยู่แล้วที่ไม่สามารถประยุกต์ใช้งานในลักษณะ Real-Time ได้
    4. ในการทดลองการแก้ไขเอกสารนั้น เกิดกรณีที่มีการแก้ไขเอกสารเดียวกันในเวลาเดียวกันนั้น เอกสารที่แก้ไขและบันทึกก่อนจะได้รับการยอมรับ แต่เอกสารที่แก้ไขและบันทึกหลังจะมีข้อความ Replication conflict ขึ้นที่วิวในแถวที่แสดงเอกสารนั้น ซึ่งในการใช้งานจริงมันจะเกิดขึ้นถ้าผู้เข้าร่วมประชุมคนหนึ่งเข้าไปแก้ไขเอกสารของอีกคนในขณะที่ผู้เป็นเจ้าของเอกสารกำลังแก้ไขอยู่ หรือกรณีที่หัวหน้าภาควิชาฯกับเลขานุการภาควิชาฯ เข้าไปแก้ไขเอกสารวาระการประชุมหัวข้อเดียวกันในเวลาเดียวกันเท่านั้น ดังนั้นในการใช้งานจริง ควรกำหนดให้หัวหน้าภาควิชาฯ หรือเลขานุการภาควิชาฯ คนใดคนหนึ่งเป็นผู้จัดทำเอกสารวาระการประชุม และผู้เข้าร่วมประชุมไม่ควรเข้าไปแก้ไขเอกสารของผู้อื่น

4.4 สรุปผลการทดลอง

    1. การประยุกต์ใช้งาน Notes ที่สร้างขึ้น สามารถทำงานได้ตามต้องการ แต่ในด้านการแสดงผลยังไม่ดีเท่าที่ควร
    2. การใช้งานฐานข้อมูลสามารถใช้งานจากที่ใดก็ได้ โดยให้เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้ากับเครือข่าย อาจใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือ Notebook ต่อกับโมเด็ม การติดต่อกับเซิฟเวอร์ของ Notes จะใช้โปรโตคอล TCP/IP